Blog Details

shape
shape
shape
shape
shape
shape
shape
shape

Software developer คืออะไร?

ในปัจจุบันกลุ่มสายไอทีหรือเทคโนโลยี เป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งเป็นสายอาชีพที่มีความต้องการสูงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อัตรารายได้สูง และที่สำคัญบุคลากรในสายไอที ยังคงมีไม่เพียงต่อตลาด และ Software developer คือ หนึ่งในกลุ่มงานสายไอที ที่เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันและในอนาคต

ซึ่งหลายคนในตอนนี้อาจจะสงสัยว่า Software developer คืออะไร? Software developer คือ ผู้ที่ความเชี่ยวชาญ ในการออกแบบ การวางแผนพัฒนา ซึ่งมักเชี่ยวชาญในภาษาเขียนโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่ง โดยเฉพาะการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ ซึ่ง Software developer มีหน้าที่ ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมเป็นแต่จะต้องรู้จักคิดนอกกรอบ อย่างการติดตั้งวางระบบหรือออกแบบกำหนดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ได้ละเอียด เพราะ ขอบเขตการทำงานจะกว้างกว่าการเขียนโปรแกรมธรรมดา ส่วนทักษะพื้นฐานที่ควรมีคือ ภาษา C, C+, Java, COBAL, IOS, Android , Java, Python, Lisp

มาถึงตรงนี้อาจจะมีคนสงสัยเเล้วว่าอาชีพ โปรแกรมเมอร์ กับ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ แตกต่างกันมากไหม
โปรแกรมเมอร์ หรือ นักเขียนโปรแกรม มีหน้าที่เขียนโปรแกรมทั่วๆไป โดยอาจมีประสบการณ์อย่างน้อย 2-3 ภาษา (ภาษาในโปรแกรมที่ใช้ เช่น ภาษา HTML, ภาษา CSS หรือ ภาษา Python) ปัจจุบันก็จะเป็นลักษณะนี้ ลักษณะงาน coding โปรแกรมอย่างเดียว สามารถรู้ Algorithm แม้จะดูคล้ายกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์หรือ Developer แต่ก็ไม่ได้ทำหน้าที่อย่างละเอียดเท่า

นักพัฒนาซอฟต์แวร์ จะมีหน้าที่สามารถเขียนและสร้างซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ วางแผน เขียนโค้ด รวมทั้งบริหารโปรเจคให้ผ่านไปด้วย สมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่น ซึ่งมักมีความรับผิดชอบมากกว่า Coder และมีการแบ่งแยกความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในด้านเดียวหรือมากกว่า จนหลายคนมองว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ เก่งและเป็นมืออาชีพมากเนื่องจากทำงานได้ทุกขั้นตอนโดยคนเดียว

จึงบอกได้ว่าอาชีพ โปรแกรมเมอร์ กับ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ มีความคลึงกันมากแต่ว่าจะมีความเเตกต่างกันคือ
โปรแกรมเมอร์ คือ คนเขียนโปรแกรม มีความเข้าใจใน code และเชี่ยวชาญการเขียน code ส่วน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ มีความรู้หลากหลายกว่า รู้วิธีการเขียน code และเขียน code แต่บางที code ไม่ได้เก่งเท่า โปรแกรมเมอร์ ทำให้หลายคนเข้ามาสู่อาชีพนี้ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้บ่งบอกว่า โปรแกรมเมอร์ จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเก่งกว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะขึ้นอยู่กับความคร่ำหวอดในการเขียนโปรแกรมมากกว่า

มีหน้าที่และทักษะพื้นฐานในสายอาชีพมีอะไรบ้าง ?

ซึ่งนอกจากจะต้องมีสกิลการเขียนโปรแกรมที่เชี่ยวชาญแล้ว ในปัจจุบันมีความต้องการ Software Developer ที่มีหน้าที่ทำอย่างอื่นเช่นการวิเคราะห์โปรแกรมหรือการออกแบบโครงสร้างของโปรแกรมแต่ Developer ที่ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ได้มีแค่เพียงทักษะ Coding อย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆด้วย

เมื่อพูดถึงทักษะพื้นฐานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ software developer หลายคนมักจะลืมนึกถึงทักษะด้านอารมณ์ หรือ ซอฟต์สกิล นั่นเอง ซึ่งทักษะนี้เองจะทำให้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ คนนั้นมีความเติบโตอย่างรวดเร็วและดูโดดเด่นกว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์คนอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าในตลาดและเปิดประตูทุกบานให้ตัวเอง มาดูกันเถอะว่ามีทักษะไหนที่เราควรเรียนรู้ไว้

  1. ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
    โปรแกรมเมอร์ เป็นคนเก่ง มีพรสวรรค์ทางด้านการ Coding แต่กลับไม่สามารถทำงานหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดีมากนัก ดังนั้นการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ดีงานของคุณก็จะออกมาดีตามไปด้วย
  2. เป็นผู้ฟังที่ดี
    การจะเป็นผู้สื่อสารที่ดีได้ คุณต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย โดยเฉพาะการรับข้อมูลจากลูกค้า ถ้าหากคุณเป็นผู้ฟังที่ไม่ดีการเขียนโปรแกรมอาจจะเกิดข้อผิดผลาดได้
  3. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
    Software Developer ที่มีคุณภาพควรมีความรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด ยอมรับคำวิจารณ์และยินดีที่จะเรียนรู้มันหรือยอมรับ Feedback เพื่อการปรับปรุงจากผู้อื่นช่วยชี้แนะและแก้ไขข้อผิดพลาดนั่นเป็นเหตุผลที่ว่า เหตุใดความอ่อนน้อมถ่อมตน
  4. เตรียมพร้อม/กระตุ้นตัวเองตลอดเวลา
    Software Developer ควรหาโอกาสฝึกฝนและผลักดันตัวเองให้หนักกว่างานที่ทำในที่ทำงาน ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้จะพัฒนาทักษะให้เฉียบคมอยู่เสมอ
  5. การบริหารเวลา
    ตัดสินใจในทางธุรกิจอันเป็นเหตุเป็นผล และสามารถลำดับความสำคัญของงานได้และความสามารถในการทำงานภายใต้แรงกดดัน รวมถึงความตรงเวลาได้ จะทำให้นายจ้างมีความสนใจเราเป็นอย่างมาก
  6. ใส่ใจในรายละเอียด
    Software Developer ที่ใส่ใจในรายละเอียด มีแนวโน้มที่จะสามารถเขียน Coding ที่มีคุณภาพสูงออกมาได้ มักมีประโยชน์กว่า คนที่ทำอะไรเร่งรีบหรือทำอะไรชุ่ยๆ

ดังนั้น การรักษาคุณภาพด้วยมาตรฐานเหล่านี้ จะช่วยให้คุณเป็น Developer ที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Developer การมีทักษะทางด้านอารมณ์เหล่านี้ ก็จะทำให้เราดูน่าสนใจขึ้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องยาก แต่มันก็ช่วยได้จริงๆ หากคุณมองว่าเป็นสิ่งที่ดูไม่น่าสนใจก็อาจจะส่งผลในแง่การทำงานเลยทีเดียว

แล้วทักษะด้านการ Coding ละ? เราลองมาดูพร้อมๆกันเลยดีกว่า

  1. Containers (Docker และ Kubernetes)
    Containers หรือเครื่องมือที่จะช่วยจัดการบรรจุ ซอฟต์แวร์ โปรแกรมต่างๆ รวมไปถึง Mobile Application ถือเป็นหนึ่งทักษะสำคัญที่คุณควรเรียนรู้เอาไว้เพราะในปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญ
  2. Cloud Platform (AWS, GCP, หรือ Azure)
    เป็นการเขียนโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับ Cloud อย่างแน่นอน โดย Cloud ก็มีให้คุณได้เลือกใช้อยู่หลายๆ แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Amazon Web Services (AWS), Google Cloud Platform (GCP) หรือ Microsoft Azure
  3. Data Structure และ Algorithm
    มันคือพื้นฐานของพื้นฐานด้านกระบวนการคิด ที่ต่อให้คุณได้ย้ายไปทำงานที่ไหนก็จะต้องได้ใช้ หรือจะต้องถูกสัมภาษณ์อย่างแน่นอน
  4. Version Control Tool
    เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนต้องเคยใช้กัน ที่จะช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถและง่ายต่อการเก็บข้อมูล โดยตลาดปัจจุบัน องค์กรส่วนใหญ่กว่า 70%
  5. IDEs
    IDE จริงๆแล้วย่อมาจาก Integrated Development Environment หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นมาตรฐานตามการใช้งานของคนทั่วไป ในการเขียน Website ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ซึ่งแต่ละคนก็มีความถนัดที่แตกต่างกันออกไป
  6. Database & SQLเป็นสิ่งที่ถือเป็นพื้นฐานแถมอายุอานามมันก็ประมาณ 30 ปีกว่าๆ ได้แล้ว ถือเป็นพื้นฐานด้านการจัดการฐานข้อมูลที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนต้องมีอยู่แล้ว
  7. OOP Programming language (C++, Java & Python)  การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ ยิ่งกว่าคำว่าพื้นฐานต้องเรียกว่าอยู่ในสายเลือดของโปรแกรมเมอร์ทุกคนเลยก็ว่าได้

ฉะนั้นเอาเท่านี้ก่อน เราจะรู้ว่า จริง ๆ แล้ว Software developer ไม่ได้มีแค่ในส่วนของการ Coding หรือสร้าง Website เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ทักษะทางด้านอารมณ์ก็สำคัญ เพราะแผนก HR หลายองค์กรเป็นแค่ฝ่ายธุรการ ตามไอทีไม่ทัน เวลาพูดคุยกันเมื่อไม่มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดีก็อาจจะทำให้โดนเขี่ยตกไปได้อย่างน่าเสียดาย ดังนั้นใครคิดว่าตัวเองเก่ง หรือเราเป็นขั้นเทพด้าน Coding แต่ไม่สามารถสื่อสารกับทีมได้หรือไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ ก็เป็นปัญหาในการทำงานได้แต่กลับกัน ถ้าหากเราอาจจะเขียนโปรแกรมได้ค่อยไม่เก่งนัก แต่เรามีทักษะและศักยภาพที่สามารถพูดคุยกับบุคคลอื่น และแก้ไขปัญหาได้ หรือแม้กระทั่งการออกแบบระบบคร่าว ๆ ก็อาจเป็นประโยชน์ให้กับทีมเเละช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้